เมนู

พระเจ้าอุเทนหนี


ต่อมาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จออก เพื่อทรงกีฬาในพระราช-
อุทยาน. พระเจ้าอุเทนทรงดำริว่า " เราควรจะหนีไป ในวันนี้ "
จึงทรงบรรจุกระสอบหนังใหญ่ ๆ ให้เต็มด้วยเงินและทอง วางเหนือหลัง
นางช้าง แล้วพาพระนางวาสุลทัตตาหนีไป. ทหารรักษาวังทั้งหลาย
เห็นพระเจ้าอุเทน กำลังหนีไป จึงกราบทูลแด่พระราชา. พระราชาทรง
ส่งพลไปด้วยพระดำรัสสั่งว่า " พวกเจ้าจงไปเร็ว ." พระเจ้าอุเทน
ทรงทราบว่า พลนิกายไล่ตามแล้ว จึงทรงแก้กระสอบกหาปณะ ทำ
กหาปณะให้ตก. พวกมนุษย์เก็บกหาปณะขึ้นแล้วไล่ตามไปอีก. ฝ่าย
พระเจ้าอุเทน ก็ทรงแก้กระสอบทองแล้วทำให้ตก เมื่อมนุษย์เหล่านั้น
มัวเนิ่นช้าอยู่ เพราะความละโมบในทอง ก็เสด็จถึงค่ายของพระองค์ ซึ่ง
ตั้งอยู่ภายนอก. ขณะนั้น พลนิกายพอเห็นท้าวเธอเสด็จมา ก็แวดล้อมเชิญ
เสด็จให้เข้าไปสู่พระนครของตน. ท้าวเธอครั้นพอเสด็จไปแล้ว ก็อภิเษก
พระนางวาสุลทัตตา ตั้งไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี.
นี้เป็นเรื่องของพระนางวาสุลทัตตา.

ประวัตินางมาคันทิยา


อนึ่ง หญิงอื่นอีก ชื่อว่า นางมาคันทิยา ก็ได้ตำแหน่งแห่ง
อัครมเหสี แต่สำนักของพระราชา. ได้ยินว่า นางเป็นธิดาของพราหมณ์
ชื่อมาคันทิยะ ในแคว้นกุรุ, แม้มารดาของนางก็ชื่อว่ามาคันทิยาเหมือน
กัน. ถึงอาของนางก็ชื่อว่า มาคันทิยะด้วย นางเป็นคนมีรูปงามเปรียบ
ด้วยเทพอัปสร. ก็บิดาของนาง เมื่อไม่ได้สามีที่คู่ควร [แก่นาง] แม้

จะถูกตระกูลใหญ่ ๆ อ้อนวอน ก็กลับตะเพิดเอาว่า " พวกท่านไม่คู่ควร
แก่ลูกสาวของฉัน " แล้วไล่ส่งไป. ต่อมาวันหนึ่ง พระศาสดาทรงตรวจ
ดูสัตวโลกในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งอนาคามิผล ของมาคันทิย-
พราหมณ์ พร้อมทั้งปชาบดี1 ทรงถือบาตรจีวรของพระองค์แล้ว ได้เสด็จ
ไปสู่สถานเป็นที่บำเรอไฟของพราหมณ์นั้น ในภายนอกนิคม. พราหมณ์
นั้นแลเห็นอัตภาพอันเลิศด้วยความงามแห่งพระรูปของพระตถาคตแล้ว ก็
คิดว่า " ชื่อว่าบุรุษอื่นผู้เช่นกับบุรุษนี้ ย่อมไม่มีในโลกนี้, บุรุษนี้เป็นผู้
คู่ควรแก่ธิดาของเรา, เราจักให้ธิดาของเราแก่บุรุษนี้ เพื่อประโยชน์จะได้
เลี้ยงดูกัน" ดังนี้แล้วจึงกล่าวว่า " ท่านสมณะ ธิดาของข้าพเจ้ามีอยู่คนหนึ่ง
ข้าพเจ้ายังไม่เห็นชายผู้คู่ควรแก่นาง ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้, ท่านเป็น
ผู้คู่ควรแก่นาง, และนางก็เป็นผู้คู่ควรแก่ท่านแท้, ควรท่านได้นางไว้เป็น
บาทบริจาริกา และนางก็ควรได้ท่านไว้เป็นภัสดา, เราจักให้นางแก่ท่าน
ท่านจงยืนอยู่ในที่นี้แล จนกว่าข้าพเจ้าจะไป (กลับมา)." พระศาสดา
ไม่ตรัสอะไร ได้ทรงดุษณีภาพ. พราหมณ์ไปสู่เรือนโดยเร็วกล่าว
(กะนางพราหมณี) ว่า " นาง ! นาง ! เราเห็นผู้ที่สมควรแก่ลูกสาว
ของเราแล้ว, หล่อนจงแต่งตัวลูกเร็ว ๆ เข้า " ให้ธิดานั้นแต่งตัวแล้ว
พาไป พร้อมกับนางพราหมณี ได้ไปสู่สำนักของพระศาสดา. ทั่วพระนคร
กึกก้อง (แตกตื่น) ว่า " พราหมณ์นี้ไม่ให้ (ลูกสาว) แก่ใคร ๆ
ด้วยอ้างว่า "ชายผู้สมควรแก่ลูกสาวของเราไม่มี " ตลอดกาลมีประมาณ
เท่านี้. ได้ยินว่า "เขากล่าวว่า 'วันนี้ เราเห็นชายผู้สมควรแก่ลูกสาว

1. ภรรยา.

ของเราแล้ว,' ชายผู้นั้นจะเป็นเช่นไรหนอ ? พวกเราจักดูชายผู้นั้น."
มหาชนจึงออกไปพร้อมกับพราหมณ์นั้นด้วย. เมื่อพราหมณ์นั้นพาธิดา
มาอยู่. พระศาสดามิได้ประทับยืนในที่ที่พราหมณ์นั้นพูดไว้ ทรงแสดง
เจดีย์คือรอยพระบาทไว้ในที่นั้นแล้ว ได้เสด็จไปประทับยืนในที่อื่น.
แท้จริง เจดีย์คือรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมปรากฏในที่
ที่พระองค์ทรงอธิษฐานแล้วเหยียบไว้เท่านั้น, ย่อมไม่ปรากฏในที่อื่น;
อนึ่ง เจดีย์คือรอยพระบาท เป็นสิ่งที่ทรงอธิษฐานไว้เพื่อประสงค์แก่
บุคคลเหล่าใด, บุคคลเหล่านั้นจำพวกเดียว ย่อมแลเห็นเจดีย์คือรอย
พระบาทนั้น; ก็สัตว์มีช้างเป็นต้น จงเหยียบก็ตาม, มหาเมฆ (ห่าฝน
ใหญ่) จงตกก็ตาม, ลมบ้าหมู จงพัดก็ตาม เพื่อจะให้บุคคลเหล่านั้น
แลไม่เห็น, ใครๆ ก็ไม่สามารถเพื่อจะลบเจดีย์คือรอยพระบาทนั้นได้.
ลำดับนั้น นางพราหมณี กล่าวกะพราหมณ์ว่า "ชายนั้นอยู่ที่ไหน ?"
พราหมณ์คิดว่า " เราได้พูดกะเขาว่า ' ท่านจงยืนอยู่ในที่นี้,' เขาไปเสีย
ในที่ไหนหนอ ?" แลดูอยู่ ก็เห็นเจดีย์คือรอยพระบาท จึงกล่าวว่า
" นี้เป็นรอยเท้าของผู้นั้น." นางพราหมณีร่ายลักษณะมนต์แล้วตรวจตรา
ดูลักษณะแห่งรอยพระบาท เพราะความเป็นผู้แคล่วคล่องในเวททั้ง 3
พร้อมทั้งมนต์สำหรับทายลักษณะ กล่าวว่า " ท่านพราหมณ์ นี้มิใช่
รอยเท้าของผู้มักเสพกามคุณ 5" แล้วกล่าวคาถานี้ว่า
"ก็คนเจ้าราคะ พึงมีรอยเท้ากระหย่ง (เว้า
กลาง), คนเจ้าโทสะ ย่อมมีรอยเท้าอันส้นบีบ
(หนักส้น), คนเจ้าโมหะ ย่อมมีรอยเท้าจิกลง

(หนักทางปลายนิ้วเท้า), คนมีกิเลสเครื่องมุงบังอัน
เปิดแล้ว มีรอยเช่นนี้ นี้."

ลำดับนั้น พราหมณ์กล่าวกะนางว่า " นาง หล่อนเป็นผู้มีปกติ
เห็นมนต์ เหมือนจระเข้ในตุ่มน้ำ เหมือนโจรอยู่ในท่ามกลางเรือน,
จงนิ่งเสียเถิด." นางพราหมณีกล่าวว่า " ท่านพราหมณ์ ท่านอยากจะ
พูดคำใด ก็จงพูดคำนั้น; รอยเท้านี้ มิใช่รอยเท้าของผู้มักเสพกามคุณ 5."
พราหมณ์แลดูข้างโน้นข้างนี้ เห็นพระศาสดาแล้วกล่าวว่า " นี้ คือ
ชายผู้นั้น" จึงไปกล่าวว่า " ท่านสมณะ ข้าพเจ้าจะให้ธิดาเพื่อต้องการ
ได้เลี้ยงดูกัน ." พระศาสดาไม่ตรัสเลยว่า " เรามีความต้องการด้วยธิดา
ของท่านหรือไม่มี" ตรัสว่า " พราหมณ์ เราจะกล่าวเหตุอันหนึ่งแก่
ท่าน," เมื่อพราหมณ์กล่าวว่า " จงกล่าวเถิดท่านสมณะ" จึงตรัสบอก
การที่พระองค์ถูกมารติดตาม ตั้งแต่ออกผนวช จนถึงโคนต้นอชปาล-
นิโครธและการประเล้าประโลมอันธิดามารทั้งหลายผู้มาเพื่อระงับความโศก
ของมารนั้น ผู้โศกาดูรอยู่ว่า " บัดนี้ พระสมณโคดมนี้ล่วงวิสัยแห่ง
เราเสียแล้ว" ประกอบขึ้นด้วยสามารถแห่งเพศนางกุมาริกาเป็นต้น ที่
โคนต้นอชปาลนิโครธ แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า
" เรามิได้มีความพอใจในเมถุน เพราะเห็นนาง
ตัณหา นางอรดี และนางราคา, ไฉนเล่า ? จักมีความ
พอใจเพราะเห็นธิดาของท่านนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยมูตร
และกรีส, เราไม่ปรารถนาจะถูกต้องธิดาของท่านนี้
แม้ด้วยเท้า."

ในที่สุดแห่งคาถา พราหมณ์และพราหมณี ก็ตั้งอยู่ในอนาคามิผล.
ฝ่ายนางมาคันทิยาผู้เป็นธิดาแล ผูกอาฆาตในพระศาสดา ว่า " ถ้าสมณะ
นั้น ไม่มีความต้องการด้วยเรา, ก็ควรกล่าวถึงความที่ตนไม่มีความ
ต้องการ; แต่สมณะนี้ ( กลับ) ทำให้เราเป็นผู้เต็มไปด้วยมูตรและกรีส;
เอาเถอะ, เราอาศัยความถึงพร้อมด้วยชาติ, ตระกูล, ประเทศ, โภคะ
ยศและวัย ได้ภัสดาเห็นปานนั้นแล้ว จักรู้กรรมอันเราควรทำแก่สมณ-
โคดม.
ถามว่า " ก็พระศาสดา ทรงทราบความเกิดขึ้นแห่งความอาฆาต
ในพระองค์ ของนางหรือไม่ทรงทราบ ?"
ตอบว่า "ทรงทราบเหมือนกัน."
ถามว่า "เมื่อพระองค์ทรงทราบ เหตุไฉนจึงตรัสพระคาถา ?"
ตอบว่า " พระองค์ตรัสพระคาถา ด้วยสามารถแห่งพราหมณ์และ
พราหมณีทั้งสองนอกนี้."
ธรรมดา พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงคำนึงถึงความอาฆาต ย่อม
ทรงแสดงธรรม ด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้ควรบรรลุมรรคผลเท่านั้น.
มารดาบิดา พานางมาคันทิยานั้น ไปฝากนายจูฬมาคันทิยะ ผู้เป็น
น้องชายแล้วไปสู่สำนักของพระศาสดา ทั้งสองคนบวชแล้ว ก็ได้บรรลุ
อรหัตผล.
ฝ่ายนายจูฬมาคันทิยะคิดว่า " ธิดาของเราไม่ควรแก่ผู้ต่ำช้า,
ควรแก่พระราชาผู้เดียว" จึงพานางไปสู่เมืองโกสัมพี ตบแต่งด้วยเครื่อง
ประดับทั้งปวงแล้ว ได้ถวายแด่พระเจ้าอุเทน ด้วยคำว่า " นางแก้วนี้
ควรแก่สมมติเทพ (ฝ่าละอองธุลีพระบาท). " พระเจ้าอุเทนนั้นพอ

ทอดพระเนตรเห็นนาง ก็เกิดสิเนหาอย่างแรงกล้า จึงประทานการอภิเษก
ทำมาตุคาม 500 ให้เป็นบริวารของนาง ตั้งไว้ในตำแหน่งแห่งอัครมเหสี
แล้ว.
นี้เป็นเรื่องของนางมาคันทิยา.
พระเจ้าอุเทนนั้น ได้มีอัครมเหสี 3 นาง ซึ่งมีหญิงฟ้อน 1,500
นางเป็นบริวาร ด้วยประการดังนี้.

สามเศรษฐีกับดาบส


ก็ในสมัยนั้นแล เมืองโกสัมพี มีเศรษฐี 3 คน คือ โฆสก-
เศรษฐี, กุกกุฏเศรษฐี, ปาวาริกเศรษฐี, เศรษฐีเหล่านั้น เมื่อวัสสูป-
นายิกาใกล้เข้ามาแล้ว, เห็นดาบส 500 มาจากหิมวันตประเทศ กำลัง
เที่ยวไปเพื่อภิกษาในพระนคร ก็เลื่อมใส จึงนิมนต์ให้นั่ง ให้ฉันแล้ว
รับปฏิญญาให้อยู่ในสำนักของตนตลอด 4 เดือน ให้ปฏิญญาเพื่อต้องการ
แก่อันมาอีก ในสมัยที่ชุ่มด้วยฝน (ฤดูฝน) แล้วส่งไป. จำเดิมแต่นั้น
แม้ดาบสทั้งหลาย อยู่ในหิมวันตประเทศตลอด 8 เดือนแล้ว จึงอยู่ใน
สำนักของเศรษฐีเหล่านั้น ตลอด 4 เดือน. ดาบสเหล่านั้น เมื่อมาจาก
หิมวันตประเทศในเวลาอื่น เห็นต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่ง ในแดนอรัญ จึง
นั่งที่โคนต้นไทรนั้น. บรรดาดาบสเหล่านั้น ดาบสผู้เป็นหัวหน้าคิดว่า
"เทวดาผู้สิงอยู่ในต้นไม้นี้ จักมิใช่เทวดาผู้ต่ำศักดิ์, เทวราชผู้มีศักดิ์ใหญ่
ทีเดียวพึงมีที่ต้นไทรนี้; เป็นการดีหนอ, ถ้าหากเทวราชนี้พึงให้
น้ำควรดื่มแก่หมู่ฤษี." เทวราชนั้นได้ถวายน้ำดื่มแล้ว. ดาบสคิดถึงน้ำอาบ.
เทวราชก็ได้ถวายน้ำอาบแม้นั้น. ต่อจากนั้น ดาบสผู้เป็นหัวหน้าก็คิดถึง